Pneumatic Conveying
อุปกรณ์ลำเลียงด้วยลม (pneumatic conveyor) เป็นอุปกรณ์ลำเลียง แป้ง อาหารสัตว์ วัตถุเจือปนอาหาร วัสดุ เคลื่อนที่ภายในท่อจึงสามารถลำเลียงขนถ่ายวัสดุได้ทั้งแนวดิ่ง แนวระดับ แนวราบ เอียงทำมุม หรือแนวโค้งได้ เหมาะสำหรับลำเลียงวัสดุในพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัด
การลำเลียงด้วยลมใช้เพื่อลำเลียงในกระบวนการผลิต เช่น การทำแห้งด้วยลม หรือการลำเลียงเข้า (loading) เพื่อการ ถ่ายออก (unloading) จากรถบรรทุก ไซโล หรือไซโคลน
อุปกรณ์ลำเลียงด้วยลม มี 2 วิธีหลัก คือ
- ระบบมีความดันเป็นบวก (positive pressure) เป็นการลำเลียงแบบใช้ลมเป่า หรือ เรียกว่า การลำเลียงด้วย ความดัน (pressure conveying) สามารถลำเลียงได้ในระยะทางไกล
- ระบบมีความดันเป็นลบ (negative pressure) เป็นการลำเลียงโดยใช้ลมดูด (suction conveying) หรือที่เรียกว่า การลำเลียงด้วยสุญญากาศ (vacuum conveying) ลำเลียงได้ในระยะทางสั้นกว่าแบบความดันเป็น บวก มีข้อดีคือ ไม่มีการรั่ว หรือฟุ้งกระจายออกจากระบบ เหมาะกับระบบที่ต้องการความสะอาดสูง หรืออาจใช้ทั้งสอง ระบบร่วมกัน
ตัวอย่างการใช้อุปกรณ์ลำเลียงด้วยลมในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
การขนถ่ายวัสดุด้วยลม
ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมมีหลักการที่ทํางานที่ง่าย และเหมาะสมกับการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล (Bulk Material) ซึ่งวัสดจะอยู่ในรูปของเม็ดและผง ไปตามท่อโดยลมที่มีความดันบวก Presure หรือ ความดันลบ (Vaccume) และยังสามารถใช้ขนวัสดุชนิดต่างๆได้มากมาย มีใช้งานทั้งในอุตสาหกรรมการผลิต ทางการเกษตร เคมีภัณฑ์ ฯลฯ ในบางกรณีอาจใช้ก๊าซไนโตรเจน หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ แทนลมได้
ก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกระบบขนถ่ายวัสดุ เราครวรู้ถึง คุณสมบัติ ข้อดี และข้อเสียของระบบก่อนจึงจะทําให้เราสามารถตัดสินใจเ ลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง ข้อดี และ ข้อเสีย ของระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมสามารถสรุปได้ดังนี้
ข้อดี
1 ให้ความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานสูง เมื่อเทียบกับ ระบบขนถ่ายแบบอื่น เพราะไม่ต้องใช้คนซึ่งอาจได้ รับอันตราย จากฝุ่น หรือสารพิษต่างๆ
2 ช่วยทําให้สภาพที่ทํางานปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะ วัสดุอยู่ในท่อมิดชิด และยังลดเสียงดังขณะขนถ่ายด้วย
3 ประหยัดราคาในการสั่งซื้อ เนื่องจากไม่ต้องใช้ภาชนะบรรจุ เช่น ถุง กระสอบ ฯลฯ
4 ประหยัดค่าแรงงานในการขนวัสดุ เนื่องจากไม่ต้องใช้คนงานในการแบก หรือ ขนวัสดุ
5 ลดการสูญเสียวัสดุจากการรัวหรือตกค้างในภาชนะบรรจุ
6 ท่ารุงรักษาและควบคุมได้ง่าย เพราะสามารถทํางานด้วยระบบควบคุมแบบอัตโนมัติได้ง่าย
7 ปรับเปลี่ยนทิศทางการขนถ่ายได้ง่ายโดยการเปลี่ยนทิศทางท่อขนวัสดุ
8 ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย
ข้อเสีย
1 ใช้กําลังงานในการขนถ่ายสูง
2 อาจเกิดการสึกหรอของอุปกรณ์ได้ง่ายเมื่อใช้กับวัสดุที่มีความคม
3 การออกแบบที่ไม่ถูกต้องอาจทําให้วัสดุเกิดการแตกหักได้
4 ระยะทางในการขนถ่ายจํากัด
5 ตามธรรมชาติของการขนถ่ายวัสดุด้วยลมเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ทําให้ต้องใช้ผู้ที่มีความชํานาญสูง เพื่อออกแบบใช้งาน และบํารุงรักษาระบบ
การที่ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมใช้กําลังงาน ในการขนถ่ายสูงทําให้เหมาะสมกับการขนถ่ายวัสดุที่มีระยะทางขนถ่าย ไม่ไกลมากนัก ข้อจํากัดของระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมจะขึ้นอยู่กับข้อจํากัดทางด้านเศรษฐศาสตร์มากกว่า ข้อจํากัดทางเทคนิค ซึ่งหมายความว่าเราสามารถขนถ่ายวัสดุเป็นระยะทางไกลๆด้วยอัตราขนมากๆได้ด้วยการใช้ปั้มลมขนาดใหญ่ที่สามารถทําความดัน ได้สูงๆ แต่เมื่อเปรียบเทียบพลังงานที่ใช้กับการขนถ่ายวัสดุด้วยอุปกรณ์ล่าเลียงชนิดอื่นๆแล้วจะใช้พลังงานในการขนถ่ายวัสดุสูงกว่า ในบางกรณีจึงอาจจะไม่เหมาะสมที่จะใช้ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลม อย่างไรก้อตามจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน ทําให้ระบบขน ถ่ายวัสดุด้วยลมใช้พลังงานในการขนถ่ายน้อยลง เราจึงสามารถใช้ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมขนวัสดุที่เป็นถ่านหิน ที่มีขนาดโตถึง 40 มม ด้วยระยะทางแนวดึงสูงถึง 300 เมตร ระยะทางตามแนวราบถึง 3000 เมตร
การใช้งานระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นการขนถ่ายวัสดุที่สะดวกรวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทําให้ระบบขนถ่ายวัสดุด้วยลมเป็นตัวเลือกแรกๆ สําหรับการพิจารณาเลือกระบบขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล